มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนฉลาดภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่: ระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบผสมผสานกระแสตรงและกระแสสลับ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานชีวภาพสำหรับชุมชนต้นแบบและมหาวิทยาลัยสีเขียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการของระบบไมโครกริดแบบกระแสตรงและกระแสสลับ (DC Microgrid & AC Microgrid) รวมถึงศึกษาการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างระบบไมโครกริดแบบกระแสตรงและกระแสสลับในการใช้งานจริงภายในชุมชนฉลาดต้นแบบ (Smart Community Model) และการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแบบกระจายศูนย์ จากการผสมผสานระหว่าง พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล และชีวภาพ ตลอดจนรูปแบบการจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม
ผลจากโครงการ
- ได้หลักเกณฑ์และมาตรฐานของระบบ DC Microgrid, DC Home และ DC Appliances
- ได้รูปแบบของระบบ DC Home และ DC Microgrid (48 VDC)
- ได้รูปแบบของระบบ Hybrid AC/DC Microgrid แบบ On-Grid และ Off-Grid สำหรับ Energy Resiliency
- ได้รูปแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานการผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ
- ได้รูปแบบการระบบโครงข่ายไฟฟ้าของชุมชนฉลาด (Smart Community Microgrid) ในรูปแบบของ Green Campus Power
ผลกระทบ
- สามารถนำองค์ความรู้ด้าน Smart Community Microgrid หรือผลการดำเนินโครงการไปประยุกต์และถ่ายทอดต่อไปยังชุมชนที่ห่างไกล หรือ Green/Smart Campus
- Smart Community Microgrid เป็นรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาระเบียบ Grid Code นโยบายของรัฐ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในกำกับระเบียบหรือข้อกำหนดสำหรับระบบไมโครกริดแบบผสมผสานในประเทศไทย
- Smart Community Microgrid สามารถนำไปใช้กับ Smart City ได้ เพื่อลดการใช้พลังงานประเภทเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงการบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดคุ้มค่า มีเสถียรภาพ มั่นคง และมีความสมดุลในภาพใหญ่
- ระบบ DC Microgrid จะสามารถลดความซับซ้อนในการผสมผสานระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่มีความหลากหลายของเทคโนโลยีได้
- การพัฒนา AC/DC Smart Meter สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับอาคารที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่หลากหลาย