sakarya escort sakarya escort sakarya escort bayan sakarya escort serdivan escort sakarya escort sakarya escort serdivan escort
karasu escort akyazı escort serdivan escort akyazı escort ferizli escort sapanca escort serdivan escort söğütlü escort sakarya escort izmit escort arifiye escort erenler escort hendek escort kocaali escort pamukova escort taraklı escort geyve escort

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC)

วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) จัดการฝึกอบรม Third Country Training Programme (TCTP) on Energy Resilience Assessment:Towards Climate Adaptable Energy Systems ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก ThailandInternational Cooperation Agency (TICA) และ Japan International Cooperation Agency(JICA)

รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรม Third Country Training Programme (TCTP) on Energy Resilience Assessment:Towards Climate Adaptable Energy Systems ในระหว่างวันที่ 19 – 23 ก.พ. 2567 ณ ห้องประชุมเอื้องคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี Mr. SUZUKI Kazuya, Chief Representative of Japan International Cooperation Agency คุณพัชรา โกศินานนท์ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านทุน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ ดร.นุวงศ์ ชลคุป ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำหน่วยงานหลัก ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) เป็นตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเครือข่ายจัดการฝึกอบรม ร่วมกล่าวเปิดงานและให้นโยบาย แนวทางในการจัดโครงการฝึกอบรม และมีผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผศ.ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา คณบดี adiCET ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมพิธีการเปิดการอบรมและต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 17 คน จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ติมอร์เลสเต

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แนวคิดด้านพลังงานกลายเป็นแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมให้เกิดการประเมินการคืนสภาพทางพลังงาน(Energy Resilience) ในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มประเทศ CLMV เพื่อยกระดับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเป้าหมายที่ 7 (Goal 7: Affordable and clean energy)

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและความก้าวหน้าทางสังคม มีความภูมิใจที่ได้มีบทบาทสำคัญในความร่วมมือครั้งนี้การตระหนักถึงความสำคัญของ Energy Resilience ซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มของ ENTEC ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งได้ร่วมมือกับ adiCET ในการเริ่มต้นดำเนินโครงการประเมินการคืนสภาพทางพลังงาน (Energy Resilience) โดยได้ใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษา และได้ขยายผลการศึกษาไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาซึ่งแนวทางและนโยบายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับหน่วยงาน ระดับประเทศ และระดับภูมิภาคต่อไป

 

Blog Attachment